วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

สีสัน ลวดลาย สับปะรดสี

                           
  
    
         กระผมขอกล่าวนำด้วยบทกลอนสั้นๆ  ที่ไม่เกินความจริงแต่อย่างใดนะครับ ท่านผู้ชม 
ยิ่งได้ศึกษามากๆ ได้เลี้ยงดู จะพบว่ายิ่งน่าสนใจมาก เพราะว่าสับปะรดสี มีความหลากหลาย ทั้งลักษณะ
ทรงต้น สีสัน ลวดลาย  ลักษณะดอกที่สวยงาม ทั้งยังเลี้ยงง่าย รดน้ำน้อยวัน ทนแล้ง  เพียงรู้จักลักษณะ
นิสัยแต่ละสายพันธุ์  เทคนิคการเลี้ยง  เหมาะสำหรับจัดสวนในพื้นที่จำกัด  สวนแนวตั้ง หรือสวนกลางแจ้ง
เช่นสกุลเอคเมีย(Aechmea ) เป็นต้น ภาพสวนสับปะรดนี้ อยู่ที่สวนนงนุช พัทยา ชลบุรี ถ้าใครสนใจ
เข้าไปแวะชมได้นะครับ
                                           
ถิ่นกำเนิด        ทวีปอเมริกา ใต้ กลาง เหนือ กระจายตามป่าตามคาคบไม้ ระดับสูงเทียมเมฆ                 
                      ตามหน้าผาสูงชัน หรือที่ราบชายฝั่งทะเล
ความนิยม       สับปะรดสีได้เริ่มนิยมในทวีปยุโรปก่อน แล้วเริ่มแพร่กระจายในเอเชีย
                      ในยุคปัจจุบันโดยใช้ตกแต่งทั่วไปตามลักษณะของสายพันธุ์ สับปะรดสีช่วยเพิ่มบรรยากาศความสดชื่น
                      จะปลูกไว้ใกล้หน้าต่าง บนโต๊ะ ริมผนัง ในครัว ใต้ต้นไม้ ในห้องน้ำ ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นพืชทนทาน
                      ต่อสภาพแสงน้อย
ลักษณะเด่น     มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลาย
                     สัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน ทนแล้ง เหมาะสำหรับจัดสวนที่ไม่ต้องดูแลมาก
                     
                                    
 บางสกุลช่อดอกสั้นอยู่ในปลายยอด แต่มักจะมีใบเลี้ยงหรือใบทั่วไปที่มี   สีสันสวยงาม 
              
การขยายพันธุ์     ที่นิยมมากที่สุดคือ การแยกหน่อ รองลงมาคือ การเพาะเมล็ด เหมาะ
                               สำหรับผสมพันธุ์ใหม่ ได้ลูกผสมที่อาจสวยกว่าเดิม หรือด้อยกว่า ซึ่งต้องคัด
                               ต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่สวยชัดเจน
  
                                                                      ตันกล้าที่ได้จากเพาะเมล็ด
ลักษณะนิสัย 
โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งตามลักษณะความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. พืชบนดิน-ทนแล้ง พบตามพื้นดินทรายแนวป่าใกล้ทะเล เป็นไม้อวบน้ำ ควรปลูกในกระถางดินเผา
หรือพลาสติก ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของทรายหยาบ กาบมะพร้าวสับ  อาจเพิ่มถ่านผสมใบไม้ผุ
 ถ้าปลูกในแปลง ต้องเป็นพื้นที่และดินระบายน้ำดี แล้วผสมเครื่องปลูกที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่สกุลดังนี้
       1.1   สกุลเฮคเทีย(Hechtia)                                                                    
                            
1.2      สกุลคริพแอนธ์อัส (Cryptanthus ) 
                                                                          
                                
                     Cryptanthus cv. It                                                                        C.  zonatus  var. fuscus
                          
                   C.  cv. Pink Starlite                                                    C.  fosterianus cv. Elaine
1.3             สกุลพิทแคร์เนีย(Pitcairnea)
                                
                              Pitcairnia  tabuliformis                                     P.musaica
1.4         สกุลอแนนัส     (Ananas)
                         
                
Ananus comosus cv.Variegatus                A. lucidus บราซิล                                         A.  comosus
                          
2.    พืชอิงอาศัย ชอบชื้น Tank type สับปะรดสีพวกนี้มีความหลากหลายสูง พบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงยอดเขาสูง
ตามคาคบไม้ใหญ่ ป่าดิบเขาสูงระดับต่างๆ เมื่อนำมาปลูก ต้องการวัสดุปลูกที่ระบายน้ำและอากาศดี ควรใช้วัสดุให้รากยึดเกาะ
เพื่อหาอาหารจากผิวไม้ที่อาศัยเกาะอยู่ด้วย เช่น ตอไม้แขวน โดยแขวนที่ร่มรำไร แสงแดดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ที่มีความ
ชื้นสูงหรือกระถางที่โปร่ง(กระถางกล้วยไม้)    ใช้เครื่องปลูกเป็น
กาบมะพร้าวสับและใส่ปุ๋ยละลายช้า ที่เรียกสับปะรดชนิดนี้ว่า Tank
เพราะใบสามารถเก็บน้ำขังไว้บริเวณกาบใบและยอด  ถ้าปลูกใน
แปลงควรใช้ดินร่วนโปร่งมีใบไม้ผุและกาบมะพร้าวสับมากๆ มีอิฐหัก
หรือถ่านทุบก็ได้ 
 
2.1        สกุลเอคเมีย(Aechmea)
            
Aechmea chantinii                                                                                     Aechmea fasciata
   
                 
                                                           A. blanchetiana                               
                                  
   
    
                                
                    
                    A. blanchetiana
                                         
                              
 2.2        สกุล บิลเบิร์กเอีย (Billbergia)                                
                            
                               Billbirgia  pyramidalis cv. Kyoto                                                   B. pyramidalis
                                                                                             
                           
                        B. cv. Fantasia                                                                        B amoena
                                                                       
2.3          สกุล กุซแมเนีย (Guzmania)                                          
  
                  Guzmania  lingulata        
2.4         สกุล รีซี (Vriesea)                                            
       
Vriesea platynema  var.variegata             V.
                           
               V. splendens var. striatifolia                                                           V. imperialis
             
           V. carinata                                                          V. splendens cv.Major                             
2.5          สกุล นีโอเรเจลยา (Neoregelia)                                                                               
     
                                                                                                                                                                           N.cv. Grace
    
                        N. cv. Inferno                                                N. spectabilis                                                     N. hybrid
                           
                N. hybrid                                                                                N. hybrid
                        
                         N. hybrid                                                               N. hybrid 
                    
                        N. hybrid                                                                                  N. cv. Fireball
 
2.6    สกุล นิดอูลาเรีม(Nidularium)                                                     
                   
               Nidularium  rutilans                                                                     N.  billbirgioides
3   พืชอิงอาศัย ชอบแห้ง หรือพืชอากาศแท้   มีสกุลเดียวคือ สกุลทิลแอนเซีย (Tillandsia) จะมีลักษณะเป็นขุยสีเทาเงินปกคลุม
ระบบรากไม่พัฒนามาก บางชนิดมีราก2-3 เส้นไว้ยึดเกาะกิ่งไม้หรือผาหิน โดยไม่ทำหน้าที่ดูดอาหารเลย มอสสเปน หรือทั่วไปเรียกว่า
หนวดฤษี สับปะรดสีชนิดนี้ไม่ต้องใช้กระถางปลูกเลย ควรผูกติดกับตอไม้ แก่นไม้ แขวนไว้ที่ร่มรำไร หรือวางบนตะข่ายโปร่งๆ  
            
      Tillandsia bergeri                                        T. cyanea                                                         T. gardneri
                
 
        
     T. flabellata var. flabellata                                   T. usneoides                                               T. stricta
                                           
                                                           
เทคนิคที่ควรรู้ในการปลูกสับปะรดสี
        เรื่องเทคนิคนี้ เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะเพาะเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะพันธุ์สับปะรดสีที่นิยมส่วนใหญ่โตช้า
ราคาแพง ถ้าเพาะเลี้ยงไม่ถูกวิธี สับปะรดสี จะไม่แตกหน่อ ไม่เจริญเติบโต สีไม่สวย หรือค่อยๆโทรมตายไปในที่สุด
       1.     สับปะรดสีชอบกระถางดินเผา โปร่ง ขนาดกระถางที่ใช้ต้องเล็กกว่าต้น ถ้ากระถางใหญ่
               ปกติเครื่องปลูกจะมีความชื้นมาก ระบายน้ำช้า
  
       2.    ไม่ควรปลูกต้นจมลึกลงไปในวัสดุปลูกมากเกินกาบใบล่าง
       3.     วัสดุถ้ามีเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวหรือเป็นแผ่น ที่ผิววัสดุ ให้เปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่
               ให้เหลือเฉพาะรากที่เกาะวัสดุอยู่เท่านั้น
        4 .   ถ้าในฤดูฝน ความชื้นสูง ควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราบ้าง ห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมของ
cupper oxide   เพราะจะเกิดการแพ้ยา ใบเน่าเป็นจุดๆ หรือตายไปได้
        5.   ถ้าต้นแตกหน่อ จนก้านหน่อแข็งแรง ให้รีบตัดหน่อไปปลูกใหม่ ต้นแม่จะได้ไม่โทรม และมีหน่อ ใหม่ได้เร็วขึ้น
         6.   ปุ๋ย ควรเป็นปุ๋ยละลายช้า สูตรเสมอ เช่น 14 -14 -14 ที่ใช้ได้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน
         7.   หมั่นถอนหญ้า,มอส และตะไคร่ เพราะทำให้วัสดุปลูกถ่ายเทอากาศได้น้อย
         8.   ศัตรูแมลงที่พบได้บางครั้ง คือตั๊กแตนกินใบ และเพลี้ยทั่วๆไป3
ที่มา : http://www.prueksa-tawanok.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น