วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

"สับปะรดหนาม" ความงามที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก

สวัสดี เพื่อนๆ ในช่วงสุดสัปดาห์วันแม่ครับ หลายคนอาจพาคุณแม่ไปเที่ยว หรือบางคนก็อาจกลับไปเยี่ยมเยียนคุณแม่ และบางท่านก็อาจเป็นคุณแม่ห้อง Mycacti จึงอาจจะเงียบเหงา ผมก็เลยถือโอกาสมาแนะนำให้เพื่อนๆ ที่ชอบไม้หนามคมๆ ได้รู้จักกับไม้อวบน้ำทนแล้งอีกกลุ่ม ซึ่งแทบจะกล่าวได้ว่าหาคนเล่นอย่างจริงๆ จังๆ ในบ้านเราไม่ค่อยได้เลย
ไม้ หนามกลุ่มที่ว่านี้ อันที่จริงถ้าบอกไป บางคนก็อาจจะร้อง...อ๋อ เพราะทีบ้านอาจมีปลูกอยู่บ้างแล้วก็ได้ นั่นก็คือพวก บรอมีเลียด (Bromeliad) หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าพวก "สับปะรดสี" นั่นเอง
หลาย คนอาจตั้งข้อโต้แย้งอยู่ในใจแล้วว่าพวกสับปะรดสีมันจะเป็นไม้อวบน้ำไปได้ อย่างไร... มันน่าจะจัดเป็นพวกไม้ใบ ที่ไม่รดน้ำเดี๋ยวเดียวก็เหี่ยวแล้วไม่ใช่หรือ?
ซึ่ง ก็ถูกต้องเหมือนกันครับ แต่ว่าไม่ทั้งหมด เพราะที่จริงยังมีไม้ในวงศ์เดียวกับสับปะรด (วงศ์ Bromeliaceae) อยู่หลายชนิดในหลายสกุล ที่มีลักษณะเป็นพวกไม้อวบน้ำทนแล้ง หรือจะเรียกอย่างเป็นทางการว่า Xeric bromeliads คือเป็น สับปะรดทนแล้ง ที่แถมมีหนามแหลมคมอยู่ตามขอบใบ ดูดุเดือดไม่แพ้พวกกระบองเพชรเลยทีเดียว
สับปะรด หนามทนแล้งที่ว่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกที่อยู่ในวงศ์ย่อย Pitcairnioideae ที่จัดเป็นสับปะรดกลุ่มโบราณที่สุดในวงศ์ ส่วนใหญ่เป็นไม้ดิน คือขึ้นอยู่ตามพื้น หรือบนโขดผาหินในพื้นที่แห้งแล้งของทวีปอเมริกา โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐเท็กซัส ในสหรัฐฯ ลงมาจนถึงประเทศอาเจนตินา
เจ้า สับปะรดหนามทนแล้งที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกันหลายสกุล รวมแล้วก็หลายร้อยชนิด มีความหลากหลายทั้งขนาด รูปทรงสีสันของใบ ยกตัวอย่างเช่น สกุล Orthophytum, Puya, Pitcairnia, Hechtia, Deuterocohnia, Encholirium และ Navia เป็นต้น แต่สกุลซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายอยู่ในหมู่นักเล่นกระบองเพชรและไม้อวบน้ำ ในต่างประเทศมากที่สุดก็คือ สกุล Dyckia ที่ผมเองสนใจและเริ่มเสาะหามาเลี้ยงสะสมไว้ได้ราวๆ สองสามปีแล้วครับ รวมๆ แล้วก็มีราว 100 กว่าชนิด
และ นี่คือบางส่วนใน collection ของผม ที่มีเพียงเพื่อนก๊วนสนิทบางคนเท่านั้นที่จะทราบว่า นอกจากพวกไม้โขดแล้ว ก็มีเจ้าสับปะรดหนามเหล่านี้แหละครับที่ผมบ้าเข้าขั้น !!! เชิญชมครับ

นี่ คือต้นที่หลายคนคุ้นเคย เพราะสวนคุณลุงวิชิตได้สั่งเมล็ดจากนอกเข้ามาเพาะ และนำมาจำหน่ายเผยแพร่ในบ้านเรากว่าสิบปีมาแล้ว จนเดี๋ยวนี้ต้นที่สวนชลบุรีของแกก็ติดเมล็ดเองแล้ว เรียกว่าเป็นรุ่นหลานก็มีครับ
เจ้า Dyckia marnier-lapostollei (ชื่อยาวจริงๆ ผับผ่า !) มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ Brazil ครับ และมีความหลากหลายของลักษณะสีสัน รูปทรงของใบรวบทั้งหนาม ค่อนข้างมาก ลองดูแล้วกันครับ





แต่ต้นนี้เด็ดสุด เป็นตัวที่ใบกลายเป็นลายบั้งๆ ได้มาจากสวนของคุณลุงวิชิตเช่นกันครับ

ต้นบน Dyckia fosteriana 'Silver Queen'
ต้นล่าง Dyckia fosteriana 'Bronze'



ต้นนี้เป็นลูกผสมยังไม่มีชื่อที่เพื่อนไปช่วยเสาะหามาฝากจากรังนักผสม Dyckia ที่อเมริกา


พวกนี้ก็ลูกผสมต่างๆ ใบหลากหลายดีครับ



นอกจากใบที่เป็นสีเงินแวววาวราวกับเคลือบโลหะแล้ว พวกลูกผสมหลายตัวก็มีสีใบฉูดฉาดสวยงามได้ไม่แพ้ไม้อวบน้ำกลุ่มอื่นๆ เหมือนกัน




บางชนิดก็มีใบค่อนข้างแปลก อย่างเป็นเส้นยาวที่มีทั้งแบบใบยาว และแบบแคระใบสั้นๆ ซึ่งหายากทั้งคู่

แต่ ที่พิสดาร และถือเป็นสุดยอดของเหล่านักสะสมต้นไม้แปลกและหายากระดับโลกก็คือเจ้าต้นนี้ ครับ เพราะเนื่องจากในบรรดา Dyckia หรือที่จริงแล้ว ถ้าจะว่าไปก็คือ พืชในวงศ์สับปะรดเกือบ 3,000 ชนิดนั้นแถบไม่มีชนิดใดที่มีใบเรียงแบบพัดออกไปสองด้านเป็นระนาบเดียวกัน อย่างเจ้านี่เลย เขาก็คือ Dyckia estevesii ที่ราคาจะสูงนักหนาผมก็ไม่เกี่ยง แต่กว่าที่จะไปหามาได้นี่ซิมันยากเย็นเอาเรื่องทีเดียว

และ เพียงแค่ข่าวแพร่ออกไปว่าต้นที่ผมได้มามันเริ่มแทงหน่อ ก็ถึงกับมีเพื่อนนักสะสมสับปะรดหนามยอมบินข้ามโลกมาขอชมจากเยอรมัน !! แล้วก็ลงชื่อจองไว้...เปล่าครับ ผมไม่ได้ขาย แต่เราตกลงจะแลกของกันครับ


ที่ จริงแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกา เขาเล่นพวกสับปะรดหนามกันอย่างจริงจังและเป็นเรื่องเป็นราวมาก มีการทำลูกผสมสวยๆ ออกมา แล้วพอถึงช่วงงานโชว์ประจำปี ต่างคนต่างก็จะนำไม้ของตัวออกมาโชว์กัน
ข้อเสียของการเล่นเจ้าพวกนี้ก็ คือ หาซื้อยากชมัด เพราะทั้งอเมริกาก็จะมีรังต้นไม้อยู่เพียงสามสี่แห่งเท่านั้นที่มีพวกนี้ เสนอขาย และพวกชนิดหายากๆ หรือลูกผสมเจ๋งๆ ที่มาโชว์นั้นก็แทบไม่ค่อยจะหลุดออกมาเลย ต้องตั้งตาเฝ้าคอยกันอย่างอดทนกว่าจะได้เลี้ยงต้นจริงกัน
ผมเองก็เพิ่งจะ ได้หน่อเล็กๆ ของเจ้าหนามก้างปลาสุดโปรดแบบในรูปนี้มาเมื่อเดือนก่อนนี่เอง โดยให้เพื่อนในวงการกระบองเพชรคนหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกับเจ้าของรังสับปะรด ที่นั่นสั่งมาให้จึงสำเร็จ


นี่ เป็นพวกที่ได้มาใหม่ บางต้นรากยังไม่เดินเลย แต่ก็ไม่ค่อยน่าห่วงเท่าไหร่ เพราะพวกนี้ทนทาน เลี้ยงตากแดดตากฝนสบายมาก ไม่มีเน่าสักต้น ดินปลูกก็สูตรเดียวกับดินกระบองเพชรทั่วๆไปนั่นเอง

แล้ว เจ้าพวกนี้ก็ขยายพันธุ์ไม่ยากนัก เลี้ยงๆ ไปไม่นานเขาก็จะเริ่มแตกหน่อ บางทีก็แตกจากตรงโคนต้น หรือบางครั้งยอดบนก็แตกออกเป็นหลายยอด ซึ่งถ้าเป็นหน่อข้างก็ต้องรอให้โตได้ขนาด 1/3 ของขนาดต้นแม่เสียก่อนจึงจะใช้มีดคมๆ ผ่าแยกออกมาปลูกได้

และบางต้นก็สามารถติดฝัก ซึ่งเมื่อฝักแก่แตกออก เราก็นำมาเพาะแบบกระบองเพชรได้ไม่ยาก


มาดูสกุลอื่นกันหน่อยแล้วกัน
อย่างสองต้นแรกนี่เป็นสกุล Hechtia ที่ดูคล้ายกับ Dyckia มาก แต่พวกนี้อยู่แถวเม็กซิโก และดอกต่างกัน



ส่วนพวกนี้คือสกุล Deuterocohnia มาจากแถวอเมริกาใต้ แถบบราซิล อเจนตินา


นี่ เป็นสับปะรดหนามสกุล Orthophytum ที่อยู่คนละวงศ์ย่อยกับพวกข้างบน คืออยู่วงศืย่อย Bromelioideae ซึ่งสับปะรดที่เรากินผลก็อยู่ในวงศ์ย่อยนี้เช่นกัน



สับปะรด หนามทนแล้งบางชนิดมีดอกที่ใครเห็นก็คงลืมไม่ลง นี่เป็นสกุล Puya ที่ นาย Juan เพื่อนต่างชาติของผมซึ่งบ้านเขาอยู่ที่ประเทศชิลีตรงบริเวณเชิงเขาแอนดี สถ่ายมาให้ดู และสัญญากับผมว่าจะเก็บเมล้ดตอนฝักมันแก่มาให้ แต่ไม่รู้จะมีที่ปลูกหรือเปล่า ต้นใหญ่ไม่ใช่เล่น...!!!



และ ก็ขอจบการแนะนำ "สับปะรดหนาม" ด้วยภาพนี้ ซึ่งเป็น สกุล Encholirium ที่ค้นพบเป้นชนิดใหม่ในป่าลึกของบราซิล มันเป็นต้นไม้ที่ผมเพียรพยายามเสาะหามากว่าสามปี จนในที่สุดแม้จะไม่ได้ต้น แต่ก็ได้เมล็ดพันธุ์ของมันมาเพาะ
ก็เพียงอยากให้กำลังใจเพื่อนๆ หรือใครที่กำลังตามสิ่งที่ฝันใฝ่อยู่ว่า หากเราไม่หยุดฝัน ซักวันฝันนั้นย่อมเป็นจริง

โดย Fat Man

ก็สวยทั้งนั้นเลย แต่ผมไม่สะดวกเล่น แต่ก็มีเจ้า
Dyckia marnier-lapostollei.อยู่1กอ ครับ

โดย MONT

ตอบ คุณ "triple ฬ " ที่จริงกลางแจ้งเลยก็อยู่ได้สบายมากครับ โดยเฉพาะ สกุล Dyckia, Hechtia, Encholirium, Deuterocohnia, Puya ที่ใบค่อนข้างอวบน้ำกว่าเพื่อนพ้อง แต่ถ้าเป็นพวกสกุล Orthophytum, Navia และอีกบางชนิดที่ใบเขาออกจะบางกว่าหน่อย ก็อาจต้องการแสงที่กรองแล้วสักหน่อยครับ
อย่าง Orthophytum gurkenii ที่ใบมีลายเหมือนพวกสับปะรดดินในสกุล Cryptanthus บางทีแดดจัดเปรี้ยงๆ แล้วเราทิ้งแห้งไม่ได้รดน้ำอาทิตย์นึงอาจใบเหี่ยว แต่พอรดน้ำหนักๆ ก็กลับสดใสได้เหมือนเดิมครับ

แต่ก็ไม่แน่เสมอไป อย่าง Orthophytum glabra ต้นนี้ ถ้าแดดไม่จัด ใบของเค้าก็จะไม่แดงสวยอย่างนี้ครับ

นี่ เป็นสภาพที่ผมตั้งวางเจ้าพวกนี้ ก็อยู่บนโต๊ะกระเบื้องแผ่นเรียบ ไม่ได้มีหลังคาใส หรือซาแลนใดๆ คือเปิดรับแดดรับฝนเต็มที่ แต่ก็มีเงาบ้านและไม้ใหญ่ (มะม่วงตัวแสบ...!) บังไปเสียครึ้งวันได้

ครับ อาจารย์มนตรี ผมเองก็พยายามเลือกสรรเฉพาะต้นที่สวยที่ชอบจริงๆ เหมือนกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องขนาด อย่างบางสกุลที่ต้นใหญ่เกะกะมากๆ เช่นพวก Hechtia บางตัว ผมก็จะไม่เก็บ แต่ก็ดูเอาครับ ขนาดพยายามเลือกพันธุ์เล็กๆ แล้ว พอเลี้ยงไปเลี้ยงไป ๆ มันก็แตกกอแน่นเบียดกันจนต้องขยายกระถางเป็นกะละมัง ที่ทางเหลือน้อยแล้วเหมือนกัน

โดย Fat Man

credit : http://www.cactiland.com/?q=node/34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น