วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

สับปะรดสีสามัคคี

Good Flower

สับปะรด สีเป็นพืชที่มีรากลมหมายถึงไม่ต้องมีดินก็อยู่ได้ เลี้ยงง่ายตายยาก เพียงแต่ต้องรดน้ำให้เพียงพอ สับปะรดสีนั้นไม่กลัวแดดจัด แต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวสัก 2-3 วัน ตอนเริ่มๆ ย้ายไปตากแดดก็อาจเหี่ยวเฉาให้ได้ลุ้น แต่ทนสักนิดเดี๋ยวก็แข็งแรงและสวยเอง

เตรียมของ

1.แผ่นไม้ที่ฝานแบน หนาประมาณ 1.5 นิ้ว เลือกใช้ไม้เศษจากตอไม้แบบที่ดูเป็นธรรมชาติซึ่งเดี๋ยวนี้มีขายที่จตุจักรอยู่หลายร้าน

2.ท่อนไม้ เลือกที่ตัดมาจากกิ่งไม้ ดูที่ฟอร์มสวยๆ ยาวพอเหมาะหรือประมาณ 25 ซม.

3.เหล็กเส้นกลม ขนาดหน้าตัด 10 มม. ยาว 15 ซม. หรือกะขนาดให้สัมพันธ์กับแผ่นไม้ จำนวน......เส้น

ขั้นตอนการทำ

1.ก่อน ใช้สว่านเจาะรูเข้าไปในแผ่นไม้ที่เป็นฐาน วัดขนาดให้ขนาดพอดีกับหน้าตัดเหล็กเส้น และเขียนตำแหน่งห่างกันประมาณ 15-20 ซม. ระวังอย่าให้ทะลุ และทำอย่างเดียวกันนี้กับท่อนไม้ด้วย

2.เพื่อ ให้มั่นใจว่าฐานรับจะอยู่ได้อย่างดีให้ใช้กาวร้อนช่วยยึดให้แน่นหนา เมื่อประกอบต้องเช็คว่าฐานไม้นี้สมดุลแล้วหรือไม่ เพราะสับปะรดสีนั้นมีน้ำหนักพอสมควร

3.รอกาวแห้งแล้วจึงนำสับปะรดสี ออกจากกระถาง อาจห่อกาบมะพร้าวเพิ่มเพื่อให้รากยึดดีขึ้นก่อนจะผูกกับท่อนไม้ด้วยลวด ซึ่งภายหลังก็จะโดนรากพันทับจึงไม่ต้องห่วงเรื่องการเก็บซ่อนนัก

4.เลือกวางตำแหน่งให้ห่างกันเล็กน้อยและหันหน้าออกคนละด้านกัน เพราะเมื่อสับปะรดสีโตขึ้นจะได้ไม่เบียดกัน
เสร็จ แล้วอดใจรอ เพราะแรกเริ่มควรใช้สับปะรดสีต้นเล็กเพื่อง่ายต่อการจัดเข้ากลุ่ม และน้ำหนักยังไม่มาก ราคาก็ถูกกว่า แล้วต่อไปเมื่อสับปะรดสีโตขึ้นจะออกรากมาพันรอบยึดเกาะท่อนไม้เอง ไม่โงนเงน เพราะธรรมชาติจะปรับตัวและปรับสมดุลของมัน



ขอบคุณ :ร้านถนัดสวน ถ.พุทธมณฑล สาย 7 โทร.08 1343 2283
26-05-2010
ที่มา : [ 26-05-2010 ]

การปลูกพืชตระกูลสับปะรดสี ???

สับปะรดสีเข้ามาในประเทศไทยกว่า 40ปี ส่วนสับปะรดที่เป็นผลไม้สำหรับทานนั้นมีเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่แถวๆอเมริกากลางไปจนถึงอเมริกาใต้ ไม้ประดับในวงศ์นี้ทีทั้งสับปะรดสี ทิลแอนเซีย เคราฤาษี วิธีดูว่าเป็นพืชในวงศ์สับปะรดสีหรือไม่ ให้สังเกตุดูจากกลีบดอกจะมี 3กลีบ มีทั้งสี ขาว ม่วง ฟ้า
Q: ถ้าหากคิดจะปลูกสับปะรดสีในกรุงเทพ ควรมีการจัดการอย่างไรให้ต้นสวย ???
A: กระบวนการเริ่มตั้งแต่การรดน้ำ หรือการให้น้ำเป็นอันดับแรก หากใช้น้ำประปาควรขังน้ำทิ้งไว้ อย่างน้อย 2วัน เพื่อให้คอลรีนในน้ำประปาระเหยออกไปหมดก่อน เนื่องจากคลอรีนจะมีผลต่อพืช คือ เมื่อรดน้ำสับปะรดแล้วน้ำจะขังบริเวณปลายใบ คลอรีนจะกัดใบ ทำให้ใบไหม้เป็นสีน้ำตาลได้ รวมถึงการฉีดน้ำลงบนยอดโดยตรงจะมีผลต่อการแตกใบอ่อนได้เช่นกัน สำหรับปัญหาที่พบกับผู้ปลูกเลี้ยงมือใหม่คือ ขยันรดน้ำมากเกินไป เพราะโดยธรรมชาติของพืชกลุ่มนี้ไม่ต้องการน้ำมากเป็นต้นไม้ที่เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยชอบรดน้ำต้นไม้ (หนีเที่ยวเป็นอาทิตย์) โดยเฉพาะในกลุ่มของบรอมีเลียดนีโอเนเจลบา ซึ่งมีรูปทรงเหมือนแจกัน หากเทน้ำลงไปสามารถกักน้ำไว้ในช่องระหว่างกาบใบได้ 0.5-2.0ลิตร แล้วแต่ขนาด ซึ่งเลี้ยงต้นไม้ได้ตั้งแต่ 7-10วัน
Q: การขยายพันธุ์ วัสดุปลูก และการให้ปุ๋ย บรอมีเลียด ???
A: นิยมการขยายพันธ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เมื่อตัดออกมาอาจใช้ปูนแดง หรือยากันราป้ายบริเวณรอยตัด ทิ้งไว้ประมาณ 2สัปดาห์ พอตัดเสร็จวางทิ้งไว้ในกระถางเปล่า หรือหากต้องการให้ออกรากง่ายขึ้นให้วางไว้บนกาบมะพร้าวที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้รากเกาะได้เร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องให้สารเร่งราก จุดเจริญของรากจะอยู่ตรงโคนกาบใบ เมือ่ปลูกเสร็จให้ทำการรดน้ำหนึ่งครั้งและทิ้งไว้หนึ่งสัปดาห์จึงรดน้ำซ้ำ วัสดุปลูกอาจใช้จากรากชายผ้าสีดา กาบมะพร้าวสับ หรือขี้เลื่อยที่แช่น้ำไว้ 3วัน เพื่อให้ยางในเนื้อไม้ออกหมดก่อน (โดยหากนำมาใช้ทันทีจะมีผลทำให้บริเวณโคนต้นที่ชิดกับผิวดินแสดงอาการผิดปรกติ หรือที่เรียกว่าอาการเน่าคอดิน) ผสมกับถ่านหรืออิฐมอญทุบ สามารถให้ปุ๋ยละลายเข้าได้กับ บรอมิเลียดทุกชนิด ยกเว้นตระกูลเดียวคือ บรอมิเลียดนีโอเนเจลยา ไม่ควรให้ปุ๋ยเลย เพราะจะทำให้ใบยาวและเสียรูปทรง
Q: กรณีปลูกบรอมิเลียดไว้ในสวน ควรจัดสภาพพื้นที่อย่างไร ???
A: สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมคือ ชื้น แต่ไม่แฉะ ต้องการแสงมากแต่ต้องไม่ร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรปลูกไว้ในบริเวณที่ได้รับแดดครึ่งวันเช้าจะดีกว่าแดดบ่าย และสามารถปลูกไว้กลางแจ้งได้ แต่ในช่วงฤดูร้อนควรพลางแสงให้ร่มขึ้น เช่นหากปลูกไว้ในโรงเรือนที่มี สแลนสีดำเพื่อการพลางแสงซัก 60% ให้ใช้มุ้งตาข่ายเพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยตัดแสงลงมาให้น้อย ช่วยป้องกันใบไหม้ได้
TRIP ???
เทคนิคการให้ปุ๋ยสำหรับบรอมิเลียดเหมือนกับการให้ปุ๋ยสำหรับไม้ประดับทั่วไป ควรให้ช่วงเวลาเย็น เนื่องจากช่วงกลางคืนต่อไปอีก 12ชั่วโมง ปุ๋ยที่ให้จะยังอยู่ในรุปของสารละลาย ซึ่งต้นไม้จะสามารถดูดซึมไปได้ดี ขณะที่หากให้ปุ๋ยในช่วงเช้า เมื่อถึงตอนสายแดดแรงขึ้น น้ำระเหยเร็วจนแห้งหมด ทำให้ต้นไม้นำไปใช้ได้ไม่เต็มที่นั่นเอง


ผู้ตั้งกระทู้ ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี (smartie-group-at-hotmail-dot-com)

สวนแนวตั้งสุดฮิปสไตล์คนรักสับปะรดสี




ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
มุมสวนเล็กๆ แห่งนี้จัดบนพื้นที่หลังบ้านทาวน์โฮม ขนาดสวนราว 3 x 2.5 เมตร เท่านั้น เพราะแบ่งพื้นที่ออกมาจากส่วนครัวด้านหลังบ้าน.....
คุณ สมพล เบญจสว่างจิตต์ เป็นอีกหนึ่งคนที่หลงรักสับปะรดสี หรือบรอมมีเลียด (Bromeliad) อย่างสุดๆ และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เขาแสวงหาความรู้ และสะสมพันธุ์บรอมมีเลียดที่หลากหลายจนใครๆ หลายคนก็อดทึ่งไม่ได้ และยิ่งน่าทึ่งไปกันใหญ่ เมื่อการสะสมของเขาไม่ได้จัดวางอย่างทั่วไป แต่ออกแบบและตกแต่งให้กลายเป็นสวนแนวตั้งสุดฮิปที่ให้ความเย็นฉ่ำและสดชื่น
หลากหลายสับปะรดสี
เพราะความหลากหลายและเต็มไปด้วยรายละเอียด จึงนำภาพมาลงให้ผู้อ่านได้สัมผัสต้นบรอมมีเลียด อย่างใกล้ชิด โดยในแต่ละชนิดนั้นมีการจัดวางให้มีสีสันที่แตกต่าง เพื่อให้มุมสวนแนวตั้งนี้เหมือนงานศิลปะชนิดหนึ่ง


สวนแนวตั้งสุดฮิปสไตล์คนรักสับปะรดสี


หย่อนใจในมุมสวน
และด้วยความตั้งใจให้สวนและบ้านเชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงทุบผนังบ้านออกแล้วกรุกระจกใส เปิดพื้นที่โล่งระหว่างมุมรับประทานอาหารกับสวนเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ต้องตา และโดนใจจริงๆ


สวนแนวตั้งสุดฮิปสไตล์คนรักสับปะรดสี


Tips for Enjoy Gardening
ด้วยความที่เป็นลูกเจ้าของ ร้านทองคำ ร้านขายวัสดุแต่งสวนและเครื่องมือทางการเกษตรชื่อดังในตลาดนัดสวนจตุจักร คุณสมพลจึงมีความรู้ในเรื่องวัสดุต่างๆ ค่อนข้างลึกซึ้ง สามารถหยิบจับสิ่งต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างน่าสนใจ ลองดูไอเดียสวนแนวตั้งเหล่านี้

+ บรอมมีเลียดแต่ละต้น คุณสมพลปลูกในวัสดุปลูกที่เรียกว่าพูไมท์ โดยใส่ตาข่ายที่ร้อยเป็นเหมือนรูปถุงแล้วมัดเรียงร้อยกันเป็นสวนแนวตั้ง

+ บังแดดให้กับบรอมมีเลียดบางตัวที่ไม่ต้องการแสงแดดแรงจัด ไอเดียนี้เกิดขึ้นมาจากความที่ไม่ต้องการตาข่ายสีเขียว หรือดำคลุมปิดพื้นที่สวน จึงทำให้ได้ทั้งประโยชน์และของแต่งสวนไปในตัว

+ ปุ๋ยละลายช้าในตะกร้อเล็กๆ สำหรับต้นบรอมมีเลียด แทรกตัวอยู่ด้านใน หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น


สวนแนวตั้งสุดฮิปสไตล์คนรักสับปะรดสี
ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Home & Decor

สีสัน ลวดลาย สับปะรดสี

                           
  
    
         กระผมขอกล่าวนำด้วยบทกลอนสั้นๆ  ที่ไม่เกินความจริงแต่อย่างใดนะครับ ท่านผู้ชม 
ยิ่งได้ศึกษามากๆ ได้เลี้ยงดู จะพบว่ายิ่งน่าสนใจมาก เพราะว่าสับปะรดสี มีความหลากหลาย ทั้งลักษณะ
ทรงต้น สีสัน ลวดลาย  ลักษณะดอกที่สวยงาม ทั้งยังเลี้ยงง่าย รดน้ำน้อยวัน ทนแล้ง  เพียงรู้จักลักษณะ
นิสัยแต่ละสายพันธุ์  เทคนิคการเลี้ยง  เหมาะสำหรับจัดสวนในพื้นที่จำกัด  สวนแนวตั้ง หรือสวนกลางแจ้ง
เช่นสกุลเอคเมีย(Aechmea ) เป็นต้น ภาพสวนสับปะรดนี้ อยู่ที่สวนนงนุช พัทยา ชลบุรี ถ้าใครสนใจ
เข้าไปแวะชมได้นะครับ
                                           
ถิ่นกำเนิด        ทวีปอเมริกา ใต้ กลาง เหนือ กระจายตามป่าตามคาคบไม้ ระดับสูงเทียมเมฆ                 
                      ตามหน้าผาสูงชัน หรือที่ราบชายฝั่งทะเล
ความนิยม       สับปะรดสีได้เริ่มนิยมในทวีปยุโรปก่อน แล้วเริ่มแพร่กระจายในเอเชีย
                      ในยุคปัจจุบันโดยใช้ตกแต่งทั่วไปตามลักษณะของสายพันธุ์ สับปะรดสีช่วยเพิ่มบรรยากาศความสดชื่น
                      จะปลูกไว้ใกล้หน้าต่าง บนโต๊ะ ริมผนัง ในครัว ใต้ต้นไม้ ในห้องน้ำ ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นพืชทนทาน
                      ต่อสภาพแสงน้อย
ลักษณะเด่น     มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลาย
                     สัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน ทนแล้ง เหมาะสำหรับจัดสวนที่ไม่ต้องดูแลมาก
                     
                                    
 บางสกุลช่อดอกสั้นอยู่ในปลายยอด แต่มักจะมีใบเลี้ยงหรือใบทั่วไปที่มี   สีสันสวยงาม 
              
การขยายพันธุ์     ที่นิยมมากที่สุดคือ การแยกหน่อ รองลงมาคือ การเพาะเมล็ด เหมาะ
                               สำหรับผสมพันธุ์ใหม่ ได้ลูกผสมที่อาจสวยกว่าเดิม หรือด้อยกว่า ซึ่งต้องคัด
                               ต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่สวยชัดเจน
  
                                                                      ตันกล้าที่ได้จากเพาะเมล็ด
ลักษณะนิสัย 
โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งตามลักษณะความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. พืชบนดิน-ทนแล้ง พบตามพื้นดินทรายแนวป่าใกล้ทะเล เป็นไม้อวบน้ำ ควรปลูกในกระถางดินเผา
หรือพลาสติก ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมของทรายหยาบ กาบมะพร้าวสับ  อาจเพิ่มถ่านผสมใบไม้ผุ
 ถ้าปลูกในแปลง ต้องเป็นพื้นที่และดินระบายน้ำดี แล้วผสมเครื่องปลูกที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่สกุลดังนี้
       1.1   สกุลเฮคเทีย(Hechtia)                                                                    
                            
1.2      สกุลคริพแอนธ์อัส (Cryptanthus ) 
                                                                          
                                
                     Cryptanthus cv. It                                                                        C.  zonatus  var. fuscus
                          
                   C.  cv. Pink Starlite                                                    C.  fosterianus cv. Elaine
1.3             สกุลพิทแคร์เนีย(Pitcairnea)
                                
                              Pitcairnia  tabuliformis                                     P.musaica
1.4         สกุลอแนนัส     (Ananas)
                         
                
Ananus comosus cv.Variegatus                A. lucidus บราซิล                                         A.  comosus
                          
2.    พืชอิงอาศัย ชอบชื้น Tank type สับปะรดสีพวกนี้มีความหลากหลายสูง พบได้ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงยอดเขาสูง
ตามคาคบไม้ใหญ่ ป่าดิบเขาสูงระดับต่างๆ เมื่อนำมาปลูก ต้องการวัสดุปลูกที่ระบายน้ำและอากาศดี ควรใช้วัสดุให้รากยึดเกาะ
เพื่อหาอาหารจากผิวไม้ที่อาศัยเกาะอยู่ด้วย เช่น ตอไม้แขวน โดยแขวนที่ร่มรำไร แสงแดดประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ที่มีความ
ชื้นสูงหรือกระถางที่โปร่ง(กระถางกล้วยไม้)    ใช้เครื่องปลูกเป็น
กาบมะพร้าวสับและใส่ปุ๋ยละลายช้า ที่เรียกสับปะรดชนิดนี้ว่า Tank
เพราะใบสามารถเก็บน้ำขังไว้บริเวณกาบใบและยอด  ถ้าปลูกใน
แปลงควรใช้ดินร่วนโปร่งมีใบไม้ผุและกาบมะพร้าวสับมากๆ มีอิฐหัก
หรือถ่านทุบก็ได้ 
 
2.1        สกุลเอคเมีย(Aechmea)
            
Aechmea chantinii                                                                                     Aechmea fasciata
   
                 
                                                           A. blanchetiana                               
                                  
   
    
                                
                    
                    A. blanchetiana
                                         
                              
 2.2        สกุล บิลเบิร์กเอีย (Billbergia)                                
                            
                               Billbirgia  pyramidalis cv. Kyoto                                                   B. pyramidalis
                                                                                             
                           
                        B. cv. Fantasia                                                                        B amoena
                                                                       
2.3          สกุล กุซแมเนีย (Guzmania)                                          
  
                  Guzmania  lingulata        
2.4         สกุล รีซี (Vriesea)                                            
       
Vriesea platynema  var.variegata             V.
                           
               V. splendens var. striatifolia                                                           V. imperialis
             
           V. carinata                                                          V. splendens cv.Major                             
2.5          สกุล นีโอเรเจลยา (Neoregelia)                                                                               
     
                                                                                                                                                                           N.cv. Grace
    
                        N. cv. Inferno                                                N. spectabilis                                                     N. hybrid
                           
                N. hybrid                                                                                N. hybrid
                        
                         N. hybrid                                                               N. hybrid 
                    
                        N. hybrid                                                                                  N. cv. Fireball
 
2.6    สกุล นิดอูลาเรีม(Nidularium)                                                     
                   
               Nidularium  rutilans                                                                     N.  billbirgioides
3   พืชอิงอาศัย ชอบแห้ง หรือพืชอากาศแท้   มีสกุลเดียวคือ สกุลทิลแอนเซีย (Tillandsia) จะมีลักษณะเป็นขุยสีเทาเงินปกคลุม
ระบบรากไม่พัฒนามาก บางชนิดมีราก2-3 เส้นไว้ยึดเกาะกิ่งไม้หรือผาหิน โดยไม่ทำหน้าที่ดูดอาหารเลย มอสสเปน หรือทั่วไปเรียกว่า
หนวดฤษี สับปะรดสีชนิดนี้ไม่ต้องใช้กระถางปลูกเลย ควรผูกติดกับตอไม้ แก่นไม้ แขวนไว้ที่ร่มรำไร หรือวางบนตะข่ายโปร่งๆ  
            
      Tillandsia bergeri                                        T. cyanea                                                         T. gardneri
                
 
        
     T. flabellata var. flabellata                                   T. usneoides                                               T. stricta
                                           
                                                           
เทคนิคที่ควรรู้ในการปลูกสับปะรดสี
        เรื่องเทคนิคนี้ เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะเพาะเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะพันธุ์สับปะรดสีที่นิยมส่วนใหญ่โตช้า
ราคาแพง ถ้าเพาะเลี้ยงไม่ถูกวิธี สับปะรดสี จะไม่แตกหน่อ ไม่เจริญเติบโต สีไม่สวย หรือค่อยๆโทรมตายไปในที่สุด
       1.     สับปะรดสีชอบกระถางดินเผา โปร่ง ขนาดกระถางที่ใช้ต้องเล็กกว่าต้น ถ้ากระถางใหญ่
               ปกติเครื่องปลูกจะมีความชื้นมาก ระบายน้ำช้า
  
       2.    ไม่ควรปลูกต้นจมลึกลงไปในวัสดุปลูกมากเกินกาบใบล่าง
       3.     วัสดุถ้ามีเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวหรือเป็นแผ่น ที่ผิววัสดุ ให้เปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่
               ให้เหลือเฉพาะรากที่เกาะวัสดุอยู่เท่านั้น
        4 .   ถ้าในฤดูฝน ความชื้นสูง ควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราบ้าง ห้ามใช้ยาที่มีส่วนผสมของ
cupper oxide   เพราะจะเกิดการแพ้ยา ใบเน่าเป็นจุดๆ หรือตายไปได้
        5.   ถ้าต้นแตกหน่อ จนก้านหน่อแข็งแรง ให้รีบตัดหน่อไปปลูกใหม่ ต้นแม่จะได้ไม่โทรม และมีหน่อ ใหม่ได้เร็วขึ้น
         6.   ปุ๋ย ควรเป็นปุ๋ยละลายช้า สูตรเสมอ เช่น 14 -14 -14 ที่ใช้ได้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน
         7.   หมั่นถอนหญ้า,มอส และตะไคร่ เพราะทำให้วัสดุปลูกถ่ายเทอากาศได้น้อย
         8.   ศัตรูแมลงที่พบได้บางครั้ง คือตั๊กแตนกินใบ และเพลี้ยทั่วๆไป3
ที่มา : http://www.prueksa-tawanok.com